การเกิดฟ้าผ่านั้นดูเหมือนจะเป็นเรื่องธรรมดาที่เกิดขึ้นเองในธรรมชาติ แต่ทราบหรือไม่ว่า ในแต่ละเดือนนั้นประเทศไทยเกิดฟ้าผ่าอย่างน้อย 100,000 ครั้ง หรือ วันละ 3,330 ครั้ง หมายความว่าทุกๆชั่วโมง จะเกิดฟ้าผ่าถึง 130 ครั้ง และมีโอกาสเกิดในเขตเมืองได้มากกว่าต่างจังหวัด
.
ไฟฟ้าที่เกิดจากฟ้าผ่า มีแรงดันไฟฟ้าสูงถึง 100 ล้านโวลต์มีกระแสไฟฟ้าประมาณ 25-250 กิโลแอมแปร์ (KA) มีอุณหภูมิประมาณ 15,000 องศาเซลเซียส มีความเร็วประมาณ 1/10 ของความเร็วแสง สามารถวิ่งผ่านร่างกายด้วยเวลาเพียง 1/10,000-1/1,000 วินาที จึงส่งผลต่อการเต้นของหัวใจและการทำงานของระบบประสาท โดยอุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์และเครื่องประดับที่ทำจากโลหะไม่ใช่สื่อล่อฟ้าผ่า แต่อาจจะมีผลกระทบข้างเคียงได้ หากคุณถูกฟ้าผ่าหรืออยู่ใกล้บริเวณที่ถูกฟ้าผ่า ทั้งนี้ เนื่องจากฟ้าผ่าทำให้เกิดคลื่นแม่เหล็กแผ่ออกโดยรอบ คลื่นแม่เหล็กไฟฟ้านี้สามารถทำให้เกิดกระแสเหนี่ยวนำ (induced Current) ขึ้นในโลหะ ส่งผลให้โลหะร้อนขึ้น และทำให้เกิดรอยไหม้บนผิวหนังที่โลหะนั้นสัมผัสอยู่ ตัวอย่างเช่น ในสหรัฐอเมริกา มีกรณีที่เกิดฟ้าผ่าลงบนต้นไม้ใกล้ๆ บ้าน และทำให้เด็กที่ใส่ลวดดัดฟันได้รับอันตราย เนื่องจากลวดดัดฟันร้อนขึ้น เป็นต้น
.
การสังเกตสัญญาณเตือนได้ง่ายๆ โดยใช้กฎ 30/30 มีดังนี้ เลข 30 ตัวแรก มีหน่วยเป็นวินาที หมายถึง หากเห็นฟ้าแลบแล้วได้เสียงฟ้าร้องตามมาภายในเวลาไม่เกิน 30 วินาที ก็แสดงว่า เมฆฝนฟ้าคะนองอยู่ใกล้เพียงพอที่ฟ้าผ่าจะทำอันตรายคุณได้ ให้หาที่หลบที่ปลอดภัยทันที เลข 30 ตัวหลัง มีหน่วยเป็นนาที หมายถึงว่า หลังจากที่พายุฝนฟ้าคะนองหยุดลงแล้ว (ฝนหยุดและไม่มีเสียงฟ้าร้อง) คุณควรจะรออยู่ในที่หลบอีกอย่างน้อย 30 นาที เพื่อให้มั่นใจว่าเมฆฝนฟ้าคะนองได้ผ่านไป หรือสลายตัวไปแล้ว อย่าลืมว่า ฟ้าผ่าแบบบวกมักจะเกิดในช่วงท้ายของพายุฟ้าคะนอง แล้วแม้อยู่ห่างในระยะ 30 กิโลเมตรก็ยังอาจเกิดฟ้าผ่าได้
.
ในระบบส่งจ่ายไฟฟ้าแรงสูงมีโอกาสได้รับแรงดันเกินเสิร์จฟ้าผ่า แรงดันเกินเสิร์จสวิตชิ่ง และแรงดันเกินชั่วครู่ ซึ่งอาจจะทำให้ความเป็นฉนวนของอุปกรณ์ที่ต่ออยู่ในระบบไฟฟ้าล้มเหลว โดยการป้องกันแรงดันเกินเสิร์จเหล่านี้ทำได้โดยการติดตั้ง Surge Arrester หรือกับดักแรงดันเกินเสิร์จ ซึ่งเป็นอุปกรณ์ที่ช่วยในการลดทอนแรงดันเกินเสิร์จให้อยู่ในระดับที่ปลอดภัยต่ออุปกรณ์ที่ต่ออยู่ในระบบส่งจ่ายไฟฟ้าแรงสูง และไม่ให้เกิดความเสียหายต่ออุปกรณ์ ดังเช่น หม้อแปลงไฟฟ้า เครื่องจักรกลไฟฟ้า หรืออุปกรณ์ในสถานีไฟฟ้า โดยปกติแล้วจะติดตั้งกับดักแรงดันเกินเสิร์จขนานกับอุปกรณ์ที่ต้องการป้องกัน คือ ต่ออยู่ระหว่างเฟสกับดิน ดังนั้น Surge Arrester หรือกับดักแรงดันเกินเสิร์จ จึงเป็นอุปกรณ์ที่สำคัญในระบบส่งจ่ายไฟฟ้าแรงดันสูง
.
ทราบหรือไม่ พรีไซซได้มีการพัฒนากับดักแรงดันเกินเสิร์จสำหรับแรงดันต่ำถึงระดับแรงดันกลาง ตั้งแต่ปี ค.ศ. 1990 ภายใต้แบรนด์พรีไซซ
#พรีไซซผู้นำเครือข่ายไฟฟ้าอัจฉริยะ #กับดักแรงดันเกิน #เสิร์จ #surgearrester
ที่มาข้อมูล : กองเทคโนโลยีสายส่งและการบิน ของ กฟผ. , สำนักงานพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติ (สวทช.) , กระทรวงวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี