คาปาซิเตอร์ (Capacitor) เป็นอุปกรณ์อย่างหนึ่ง ทำหน้าที่เก็บพลังงานในรูปสนามไฟฟ้า ที่สร้างขึ้นระหว่างคู่ฉนวน โดยมีค่าประจุไฟฟ้าเท่ากัน แต่มีชนิดของประจุตรงข้ามกัน มีคุณสมบัติตรงข้ามกับตัวเหนี่ยวนำ จึงมักใช้หักล้างกันหรือทำงานร่วมกันในระบบไฟฟ้าต่าง ๆ แต่ทราบหรือไม่ว่า กว่าจะค้นพบที่เก็บประจุไฟฟ้าในระบบนั้น มีเรื่องราวที่น่าสนใจมากมาย ผ่านปัญหาและอุปสรรคอะไรหลายๆอย่าง และไม่ได้ล้มเหลวเพียงครั้งเดียว
ในปี ค.ศ. 1745 (พ.ศ. 2288) ศาตราจารย์ด้านกฏหมาย ชาวเยรมัน ชื่อ Ewald Georg Von Kleist เป็นอาจารย์ทางด้านนิติศาตร์ในมหาวิทยาลัยไลเดน (Leiden University) ประเทศเนเธอร์แลนด์ในปัจจุบัน ศาตราจารย์ไคลสท์เป็นผู้ที่หลงไหลทางด้านไฟฟ้าอย่างยิ่ง โดยในทุกวันหลังจากเสร็จภารกิจสอนหนังสือ ก็จะไปหาความรู้ในภาควิชาฟิสิกส์ เพื่อหาทฤษฏีใหม่ๆ ในเรื่องที่เกี่ยวกับไฟฟ้า ซึ่งศาสตร์ความรู้ในสาขาไฟฟ้าในสมัยนั้น เป็นเรื่องใหม่และเป็นที่สนใจอยู่ในกลุ่มเล็กๆ จึงถูกมองว่าเป็นพวกพ่อมด บางครั้งที่เดินภายนอกมหาวิทยาลัย ยังถูกชาวบ้านรังเกียจรวมถึงปาก้อนหินใส่ แต่ด้วยความชื่นชอบและหลงไหลในเรื่องไฟฟ้า ศาตราจารย์ไคลสท์จึงไม่ท้อถอย และหลังจากที่ลองผิดลองถูกอยู่นาน ก็สามารถคิดค้นวิธีเก็บอุปกรณ์ไฟฟ้าได้สำเร็จ โดยมีองค์ประกอบคือไหแก้ว พันด้วยอะลูมิเนียมฟอยล์ ซี่งส่วนปากไหจะมีลูกแก้วตะกั่วยืนออกประมาณหนึ่งในสี่ของขนาดไห ด้านในใหบรรจุน้ำเกลือจนเต็ม และปิดโดยรอบปากไหให้สนิทอีกที ซึ่งสิ่งนี้มีชื่อเรียกว่า “ไหของไลเดน” (Leyden Jar or Leiden Jar) โดยไหของไลเดนนี้ ถือเป็นอุปกรณ์ไฟฟ้าแรงสูงชนิดหนึ่งในสมัยนั้น เพราะสามารถเก็บไฟฟ้าได้ถึง 20,000 ถึง 60,000 โวลต์ได้เลยทีเดียว
การประดิษฐ์ไหของไลเดน ของศาสตราจารย์ไคลสท์ เป็นการสร้างแรงบันดาลใจให้คนที่มีความสนใจด้านไฟฟ้าในยุคต่อๆมา เพื่อพัฒนาความรู้และศักยภาพในเรื่องไฟฟ้าโดยในปี ค.ศ.1749 (พ.ศ. 2292) เบนจามิน แฟรงคลิน ต้องการ พิสูจน์ว่าสายฟ้าที่ฆ่าชีวิตผลเมืองอเมริกานั้น เป็นไฟฟ้าหรือไม่? โดย เบนจามิน แฟรงคลิน ได้ลอยว่าวที่ผูกกุญแจลอยขึ้นท้องฟ้ายามฝนตก และได้ถ่วงน้ำหนักของสายว่าวไว้กับไหของไลเดนนั้นเอง ผลคือสายฟ้าได้ฟาดลงกุญแจและกระแสไฟฟ้าได้ไหลลงไปยังไหของไลเดนจนอะลูมิเนียมฟอยล์ที่พันรอบไหได้แดงจนไหแตกระเบิดออกมา ทำให้ เบนจามิน แฟรงคลิน ได้ค้นพบประจุไฟฟ้า รวมถึงคลายปมที่ว่าสายฟ้าเป็นไฟฟ้าหรือไม่ โดยการค้นพบของ เบนจามิน แฟรงคลิน ทำให้เราได้ต่อยอดความรู้จนทำให้เกิดทฤษฎีต่างๆ ในปัจจุบัน
ปัจจุบันคาปาซิเตอร์ แบ่งออกเป็น 2 ประเภท คือแบบที่สามารถปรับค่าอัตโนมัติและประเภทที่ไม่สามารถปรับค่าได้
- คาปาซิเตอร์ที่ไม่สามารถปรับค่าได้ : เป็นคาปาซิเตอร์ที่นิยมติดตั้งในระบบจำหน่ายของการไฟฟ้า และทางด้านแรงดันต่ำของหม้อแปลงไฟฟ้าเพื่อชดเชยแรงดันตกอันเนื่องมาจากค่าสูญเสียที่เกิดจากค่าตัวประกอบกำลังที่ต่ำกว่ามาตรฐาน (น้อยกว่า 0.85) คาปาซิเตอร์ผลิตโดยใช้ตัวถังวัสดุที่เป็นสแตนเลสสตีล ซึ่งใช้วิธีการเชื่อมในการประกอบและทำการทดสอบรอยเชื่อมโดยการทดสอบรอยรั่ว เพื่อให้แน่ใจว่าทั้งน้ำและฝุ่นจะไม่รั่วเข้าไปภายใน ซึ่งเป็นสาเหตุให้คาปาซิเตอร์ที่อยู่ภายในชำรุด จึงเหมาะที่จะติดตั้งภายนอกอาคาร
- คาปาซิเตอร์ที่สามารถปรับค่าอัตโนมัติ :
พาวเวอร์คาแปชิเตอร์ ถูกออกแบบมาเพื่อใช้ปรับปรุงค่าพาวเวอร์เฟคเตอร์ ให้กับระบบแบบอัตโนมัติ โดยใช้ชุดควบคุมค่าตัวประกอบกำลัง (Automatic Power factor controller) ควบคุมค่า kVAR ของพาวเวอร์คาปาซิเตอร์ เพื่อปรับปรุงค่าตัวประกอบกำลัง ไม่น้อยกว่า 0.85 เพื่อลดกำลังการการสูญเสียในระบบ
ทราบหรือไม่ว่า !! พาวเวอร์คาปาซิเตอร์ ของพรีไซซ ได้รับมาตรฐาน IEC 831, IEC 871 ซึ่งแสดงถึงคุณภาพของสินค้าที่ได้รับการยอมรับจากกลุ่มลูกค้า การไฟฟ้านครหลวง และการไฟฟ้าส่วนภูมิภาค รวมถึงกลุ่ม ต่างประเทศ อีกด้วย
ติดต่อสั่งซื้อสินค้าได้ตลอด 24 ชั่วโมง
https://online.preciseproducts.in.th
LINE: https://lin.ee/1T37XR1
หรือโทร. 065-528-5860, 098-286-3871 หรือ 02-584-2367 ต่อ 621