มาเตรียมความพร้อม การนำสายไฟลงใต้ดิน กันเถอะ !!
เมื่อผู้บริหารของบริษัท ไมโครซอฟท์ อย่าง บิล เกตส์ ได้โพสต์ภาพในโลกโซเชียลมิเดีย พูดถึงปัญหาของกระแสไฟฟ้าและโครงสร้างพื้นฐานของสายไฟฟ้าในแต่ละประเทศ โดยโพสต์ภาพเสาไฟฟ้าที่ระบุว่าเป็นประเทศไทย ซึ่งในภาพมีทั้งสายไฟและสายอื่นๆอยู่บนเสาไฟต้นเดียวกัน ซึ่งเป็นทัศนียภาพที่ไม่ค่อยน่ามองนักในสายตาของชาวต่างประเทศที่มีการนำระบบสายไฟฟ้าลงใต้ดินแล้ว .การนำสายไฟฟ้าลงดินจะมีประโยชน์มากกว่าแค่เรื่องของทัศนียภาพแต่รวมถึงความปลอดภัยในชีวิตและทรัพย์สินด้วย ดังนั้น ไม่ว่าจะเป็นโครงการ เล็กหรือใหญ่ เช่น หมู่บ้านจัดสรร โรงงานอุตสาหกรรม รวมถึงสถานที่ต่าง ๆ โดยเฉพาะบริเวณที่เป็นแหล่งท่องเที่ยวนั้น การมีทัศนียภาพที่ดีส่งผลต่อการสร้างแรงดึงดูดทางการท่องเที่ยว เพิ่มรายได้ให้ชุมชนได้ แต่การนำสายไฟฟ้าลงใต้ดิน จำเป็นต้องศึกษาในหลายๆด้าน เพื่อความปลอดภัย ซึ่งพรีไซซมีบริการระบบสายไฟฟ้าใต้ดิน (Underground Cable System) โดยเดินร้อยท่อฝังดินในโครงสร้างที่ออกแบบมาเพื่อรองรับสายต่างๆ โดยแบ่งงานเป็น 3 ระบบ คือ งานระบบไฟฟ้าแรงสูง งานระบบไฟฟ้าแรงต่ำ และ งานหม้อแปลงไฟฟ้า ดังนี้ .การนำสายไฟฟ้าระบบไฟฟ้าแรงสูงลงดิน1.ก่อสร้างวางท่อร้อยสายระบบไฟฟ้าแนวท่อร้อยสายไฟฟ้าจะอยู่บริเวณใต้ผิวจราจร2.การก่อสร้างวางท่อร้อยสายใช้วิธีก่อสร้างแบบดันท่อลอด Horizontal Directional Drilling (HDD)3.ตามแนวการก่อสร้างท่อร้อยสายจะมีการก่อสร้างบ่อพักสายไฟฟ้าในตำแหน่งที่ต้องจ่ายไฟให้หม้อแปลงไฟฟ้า4.สายไฟฟ้าสำหรับใช้ในระบบใต้ดินเป็นสายชนิดพิเศษออกแบบมาให้สามารถแช่อยู่ในน้ำได้โดยไม่เกิดอันตราย .การนำสายไฟฟ้าระบบไฟฟ้าแรงต่ำลงดิน1.ก่อสร้างท่อร้อยสายระบบไฟฟ้าบริเวณฟุตบาทตลอดทั้งสองฝั่งถนน2.ก่อสร้างวางท่อร้อยสายด้วยวิธีการก่อสร้างแบบขุดเปิดถนน3.ก่อสร้างบ่อพักสายไฟฟ้าเพื่อใช้เป็นจุดต่อแยกสายจ่ายไฟให้ผู้ใช้ไฟฟ้า4.สายไฟฟ้าสำหรับใช้ในระบบใต้ดินเป็นสายชนิดพิเศษออกแบบมาให้สามารถแช่อยู่ในน้ำได้โดยไม่เกิดอันตราย5.จุดจ่ายไฟฟ้าให้ติดตั้งตู้ Circuit Breaker โดย พรีไซซ มีหลายแบบตามการใช้งาน เพื่อป้องกันไฟฟ้าลัดวงจร ทำให้จำนวนผู้ใช้ไฟฟ้าได้รับผลกระทบต่อเหตุไฟฟ้าดับลดลง6.การก่อสร้างวางท่อร้อยสายใช้วิธีก่อสร้างแบบดันท่อลอด Horizontal Directional Drilling…