จากคำกล่าวที่ว่า “แรงงานมีความสำคัญในฐานะที่เป็นปัจจัยการผลิตในการผลิตสินค้า และเป็นทุนมนุษย์ที่สามารถพัฒนาศักยภาพให้สูงขึ้นได้ ตามความหมายของแรงงานเป็นประชากรที่อยู่ในวัยทำงานที่สามารถทำงานได้โดยใช้กำลังกายและกำลังความคิดที่มีหลายระดับความรู้ ความสามารถอันเป็นประโยชน์ในทางเศรษฐกิจของประเทศชาติ ซึ่งความหมายของแรงงานมีคำที่เกี่ยวข้องหลากหลายคำ ได้แก่ กำลังคน และกำลังแรงงาน นอกจากนี้ยังมีความหมายที่แบ่งย่อยลงไปเป็น ผู้มีงานทำ ผู้ว่างงาน ผู้ที่อยู่และไม่อยู่ในกำลังแรงงาน โดยที่ผู้มีงานทำยังจำแนกได้ตามสาขาการผลิตอีกหลายประเภท ซึ่งแรงงานในทุกสาขาการผลิตมีความสำคัญอย่างยิ่ง และสร้างประโยชน์ทั้งในระดับสถานประกอบการ สังคม และประเทศชาติ” ดังนั้น จากคำกล่าวข้างต้น แรงงานจึงเป็นฟันเฟืองสำคัญยิ่ง ในการขับเคลื่อนเศรษฐกิจ สังคม และการพัฒนาประเทศ ให้เจริญรุ่งเรือง แต่ในขณะเดียวกัน ทั้งภาครัฐ ภาคเอกชน รวมถึงตัวแรงงานเอง ก็ต้องมีส่วนร่วมกันผลักดัน พัฒนา ความรู้ ความสามารถ ทักษะ เพื่อพัฒนาต่อยอดองค์กร สถานประกอบการ สังคม รวมไปถึงเพื่อพัฒนาขีดความสามารถของประเทศชาติต่อไปด้วย ความสำคัญของแรงงานไทยในปัจจุบัน แรงงานทั้งกลุ่มที่เป็นลูกจ้าง พนักงานต่าง ๆ เป็นกำลังในการดำเนินกิจการ และช่วยสร้างรายได้ ถือเป็นปัจจัยสำคัญในการผลิตสินค้าและการบริการ โดยมีข้อมูลจำนวนแรงงานในธุรกิจต่าง ๆ ดังนี้ ธุรกิจการศึกษา,ธุรกิจโรงแรมและร้านอาหาร,ธุรกิจการเงิน การลงทุน และที่เกี่ยวข้องกับอสังหาริมทรัพย์ ธุรกิจค้าปลีก,ธุรกิจการผลิต เกษตรกรรม ประมง,ธุรกิจยานยนต์ ธุรกิจการขนส่ง,ธุรกิจการก่อสร้าง…