จากคาปาซิเตอร์ยุคต้นกำเนิด (ค.ศ.1745) สู่ยุคปัจจุบัน เปลี่ยนแปลงไปอย่างไร
คาปาซิเตอร์ (Capacitor) เป็นอุปกรณ์อย่างหนึ่ง ทำหน้าที่เก็บพลังงานในรูปสนามไฟฟ้า ที่สร้างขึ้นระหว่างคู่ฉนวน โดยมีค่าประจุไฟฟ้าเท่ากัน แต่มีชนิดของประจุตรงข้ามกัน มีคุณสมบัติตรงข้ามกับตัวเหนี่ยวนำ จึงมักใช้หักล้างกันหรือทำงานร่วมกันในระบบไฟฟ้าต่าง ๆ แต่ทราบหรือไม่ว่า กว่าจะค้นพบที่เก็บประจุไฟฟ้าในระบบนั้น มีเรื่องราวที่น่าสนใจมากมาย ผ่านปัญหาและอุปสรรคอะไรหลายๆอย่าง และไม่ได้ล้มเหลวเพียงครั้งเดียว ในปี ค.ศ. 1745 (พ.ศ. 2288) ศาตราจารย์ด้านกฏหมาย ชาวเยรมัน ชื่อ Ewald Georg Von Kleist เป็นอาจารย์ทางด้านนิติศาตร์ในมหาวิทยาลัยไลเดน (Leiden University) ประเทศเนเธอร์แลนด์ในปัจจุบัน ศาตราจารย์ไคลสท์เป็นผู้ที่หลงไหลทางด้านไฟฟ้าอย่างยิ่ง โดยในทุกวันหลังจากเสร็จภารกิจสอนหนังสือ ก็จะไปหาความรู้ในภาควิชาฟิสิกส์ เพื่อหาทฤษฏีใหม่ๆ ในเรื่องที่เกี่ยวกับไฟฟ้า ซึ่งศาสตร์ความรู้ในสาขาไฟฟ้าในสมัยนั้น เป็นเรื่องใหม่และเป็นที่สนใจอยู่ในกลุ่มเล็กๆ จึงถูกมองว่าเป็นพวกพ่อมด บางครั้งที่เดินภายนอกมหาวิทยาลัย ยังถูกชาวบ้านรังเกียจรวมถึงปาก้อนหินใส่ แต่ด้วยความชื่นชอบและหลงไหลในเรื่องไฟฟ้า ศาตราจารย์ไคลสท์จึงไม่ท้อถอย และหลังจากที่ลองผิดลองถูกอยู่นาน ก็สามารถคิดค้นวิธีเก็บอุปกรณ์ไฟฟ้าได้สำเร็จ โดยมีองค์ประกอบคือไหแก้ว พันด้วยอะลูมิเนียมฟอยล์ ซี่งส่วนปากไหจะมีลูกแก้วตะกั่วยืนออกประมาณหนึ่งในสี่ของขนาดไห ด้านในใหบรรจุน้ำเกลือจนเต็ม และปิดโดยรอบปากไหให้สนิทอีกที ซึ่งสิ่งนี้มีชื่อเรียกว่า “ไหของไลเดน” (Leyden Jar or…