[vc_row][vc_column][vc_column_text css=”.vc_custom_1571658003397{margin-bottom: 22px !important;}”]

บริษัท พรีไซซ อีเลคตริค แมนูแฟคเจอริ่ง จำกัด

[/vc_column_text][/vc_column][/vc_row][vc_row full_width=”stretch_row” css=”.vc_custom_1571653526623{padding-top: 60px !important;padding-bottom: 30px !important;}”][vc_column]

knowledge

เครียดได้…หายได้ตัวเอง

โรคเครียด คือ ภาวะหนึ่งที่เกิดขึ้นหลังจากที่ได้รับปัจจัยที่ทำให้เกิดการกดดัน และส่งผลกระทบต่อจิตใจจนเสียศูนย์ ไม่สามารถปรับตัวได้อย่างเหมาะสม ส่งผลให้เกิดความบกพร่องทางด้านการงานและชีวิตประจำวัน อาการมีได้หลายแบบ เช่น วิตกกังวล เศร้า หงุดหงิด หรืออาจจะมีอาการทางกาย เช่น ปวดศีรษะ คลื่นไส้ ปวดเมื่อยกล้ามเนื้อ บางคนมักมีอาการเป็นสัปดาห์หรือบางคนก็เป็นเดือนได้ ซึ่งหากปัจจัยที่กดดันทำให้เกิดความเครียดหมดไปอาการก็จะหมดไปด้วย สาเหตุที่ทำให้เกิดความเครียดปัจจัยที่ทำให้เกิดความเครียดอาจเป็นเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นในชีวิตประจำวันได้ อย่าง ข่าวสารของเชื้อ COVID-19 ที่กำลังเป็นที่ถูกพูดถึงในช่วงนี้ ซึ่งปกติแล้วเมื่อเกิดปัจจัยที่ทำให้เกิดความกดดัน คนเราก็จะเครียดได้เป็นธรรมดา โดยความเครียดจริงๆ แล้วก็เป็นเรื่องดี เพราะเปรียบเสมือนสัญญาณเตือนภัยที่ทำให้คนเราเตรียมรับมือกับสถานการณ์ที่กำลังเกิดขึ้น แต่กลับกันหากสัญญาณเตือนภัยนี้ทำงานมากเกินไปอาจกลายเป็นโรคเครียดสะสมได้ วิธีจัดการภาวะเครียด COVID-19 ให้ดูก่อนว่าปัญหาของความเครียดที่เป็นนี้เกิดจากอะไร ค่อยๆ แก้ไขปัญหาไปทีละส่วน หากปัญหาเกิดจากสาเหตุที่สามารถแก้ไขได้ ก็ให้แก้ไขปัญหานั้นไปให้เต็มที่ แต่หลังจากพิจารณาแล้วพบว่าปัญหาไม่สามารถแก้ไขได้ให้ฝึกยอมรับปัญหา เช่น ข่าวของเชื้อ COVID-19 หากการรับข่าวสารทำให้เกิดผลกระทบต่อจิตใจมากเกินไป ให้งดรับข่าวสารก่อนเลย เพื่อพักจิตใจ หากการจัดการกับปัญหาเหล่านี้มากเกินไปแล้วทำให้เกิดความเครียดสะสม ควรปรึกษาคนใกล้ชิดเพื่อเล่า ระบายความรู้สึกให้ฟัง เพราะหลังจากที่ได้ระบายเรื่องเหล่านี้ให้คนใกล้ชิดฟังก็ช่วยให้จิตใจลดเรื่องความเครียดลงได้เยอะ ส่วนคนใกล้ชิดที่รับฟังผู้ที่มีความเครียดก็ให้รับฟังอย่างเข้าใจ พยายามทำให้ผู้เครียดเห็นถึงศักยภาพของตนเองมากที่สุดว่าจะสามารถฝ่าฟันความเครียดนี้ไปได้ จากนั้นก็ให้คำแนะนำที่เหมาะสมการรักษาที่เหมาะสม หากมีความเครียดมากเกินไปจนรับมือไม่ไหวควรเข้ารับการรักษากับจิตแพทย์ ปรึกษาปัญหา ความเครียดต่างๆ ที่มี ซึ่งทางทีมแพทย์จะประเมินความรุนแรงของความเครียดที่เกิดขึ้น…

Read more
knowledge

26 ธันวาคม วันคุ้มครองสัตว์ป่าแห่งชาติ

วันคุ้มครองสัตว์ป่าแห่งชาติ ตรงกับวันที่ 26 ธันวาคม ของทุกปี ถูกกำหนดขึ้นครั้งแรกในรัฐบาลของ จอมพล สฤษดิ์ ธนะรัชต์ ในปี พ.ศ. 2503 เนื่องจากในช่วงนั้นสัตว์ป่าถูกล่าเป็นจำนวนมากจนลดจำนวนลงอย่างรวดเร็ว และกฎหมายที่เกี่ยวกับการคุ้มครองสัตว์ป่าในขณะนั้น มีเพียงพระราชบัญญัติสำหรับรักษาช้างป่า ร.ศ. 1199 (พ.ศ. 2443) เท่านั้น ยังไม่มีการคุ้มครองสัตว์ป่าอื่น ๆ รัฐบาลในสมัยที่มี จอมพล สฤษดิ์ ธนะรัชต์ เป็นนายกรัฐมนตรี จึงได้ตรากฎหมายว่าด้วยการสงวนและคุ้มครองสัตว์ป่าขึ้น คือ พระราชบัญญัติสงวนและคุ้มครองสัตว์ป่า พ.ศ. 2503 โดยมีสมเด็จพระศรีนครินทราบรมราชนนี ทรงลงนามในพระปรมาภิไธยเมื่อวันที่ 26 ธันวาคม พ.ศ. 2503 ต่อมาในปี พ.ศ. 2535 ได้มีการปรับปรุงพระราชบัญญัติว่าด้วยการสงวนและคุ้มครองสัตว์ป่า พ.ศ. 2503 ใหม่ เนื่องจากมาตรการต่าง ๆ ที่มีอยู่ในกฎหมายดังกล่าวไม่สามารถทำให้การสงวนและคุ้มครองสัตว์ป่าเป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพ และมีความจำเป็นจะต้องเร่งรัดการขยายพันธุ์สัตว์ป่าและให้การสงวนและคุ้มครองสัตว์ป่าควบคู่กันไปประกอบกับได้มีการตกลงระหว่างประเทศในการที่จะร่วมมือกันเพื่อสงวนและคุ้มครองสัตว์ป่าของท้องถิ่น หรืออนุสัญญาไซเตส (CITES) จึงมีการปรับปรุงให้มาตรการในการสงวนและคุ้มครองสัตว์ป่าเป็นไปอย่างเหมาะสมและสอดคล้องกับความตกลงระหว่างประเทศ จากข้อมูลของกรมอุทยานแห่งชาติ สัตว์ป่า และพันธุ์พืช…

Read more
knowledge

Merry X’mas 2020

วันคริสต์มาส คือ การฉลองวันประสูติของพระเยซูผู้เป็นศาสดาสูงสุดของชาวคริสต์ทั่วโลก เป็นวันฉลองที่มีความสำคัญ และมีความหมายมากที่สุดวันหนึ่ง เพราะชาวคริสต์ถือว่า พระเยซูมิใช่เป็นแต่เพียงมนุษย์ธรรดาๆ ที่มาเกิดเหมือนเด็กทั่วไป แต่พระองค์เป็นบุตรของพระเจ้าผู้สูงสุด และมีพระธรรมชาติเป็นพระเจ้า และเป็นมนุษย์ในพระองค์เอง การบังเกิดของพระองค์ จึงเป็นเหตุการณ์พิเศษ ที่ไม่เหมือนใครและไม่มีใครเหมือนด้วย ทื่คริสตชน เลือกเอาวันที่ 25 ธันวาคม เป็นวันฉลองคริสต์มาส ตั้งแต่ ศตวรรษที่ 4 เป็นต้นมา เนื่องจาก ในปี ค.ศ. 274 จักรพรรดิเอาเรเลียน ได้กำหนดให้วันที่ 25 ธันวาคม เป็นวันฉลอง วันเกิดของสุริยเทพผู้ทรงพลัง ชาวโรมันฉลองวันนี้อย่างสง่า และถือเสมือนว่าเป็นวันฉลองของพระจักรพรรดิไปในตัวด้วย เพราะพระจักรพรรดิก็เปรียบเสมือน ดวงอาทิตย์ ที่ให้ความสว่างแก่ชีวิตมนุษย์.ถึงช่วงปลายปีทีไร ชาวไทยเราก็มีเรื่องฉลองกันอีกแล้ว ไม่ว่าจะเป็นวันปีใหม่หรือวันคริสต์มาส ที่กำลังจะมาถึง แม้ว่าวันคริสต์มาสนี่ดูเหมือนจะไม่ค่อยเกี่ยวข้องกับคนไทยที่นับถือศาสนาพุทธสักเท่าไร แต่ก็มีคนไทยบางคนที่นับถือศาสนาคริสต์อยู่จำนวนไม่น้อย พรีไซซขอร่วมส่งความสุขสุดสดใสให้กับทุกๆท่านด้วยนะครับ MerryX’mas.❄We wish you a Merry Christmas We wish you a Merry…

Read more
knowledge

ส่วนประกอบของตู้ MDB ต้องประกอบไปด้วยอะไรบ้าง ?

Main Distribution Board หรือ ตู้ MDB เป็นตู้ควบคุมระบบไฟฟ้าหลัก โดยหลักการทำงานของตู้ MDB คือเป็นด่านแรกในการรับไฟแรงดันต่ำจากการไฟฟ้าหรือหม้อเเปลงไฟฟ้าเเล้วจึงจ่ายไฟไปยังโหลดส่วนต่างๆ ของอาคาร เเละมีอุปกรณ์ตัดวงจร (circuit breaker) คอยตัดต่อวงจรไฟฟ้าทั้งหมด ที่เเผงจ่ายไฟฟ้าหลักโดยปกติใช้กันในอาคารที่มีขนาดเล็กขึ้นไป ตู้ MDB ประกอบไปด้วย 4 ส่วนหลัก คือ โครงตู้ (Enclosure)มีหน้าที่ยึดอุปกรณ์ที่ใช้ไฟฟ้าภายในให้เป็นระเบียบ และยังป้องกันไม่ให้บุคคลภายนอกได้รับอันตรายจากไฟฟ้าภายในตู้ MDB โดยโครงตู้ หรือ enclosure นี้ มักถูกสร้างขึ้นโดยเฉพาะตามขนาดพื้นที่การใช้งานจริง บัสบาร์ (Busbar)บัสบาร์เป็นโลหะตัวนําไฟฟ้าทำมาจากทองแดง หรือ ทองเหลือง หรือ อลูมิเนียม ซึ่งบัสบาร์ที่นิยมใช้ทั่วไปจะมีลักษณะเป็นรูปสี่เหลี่ยมผืนผ้าแบบแบนและมีพื้นที่หน้าตัด ที่มีคุณสมบัติสำคัญ คือ มีความต้านทานกระแสไฟฟ้าต่ำ มีความต้านทานต่อการกัดกร่อนและแรงกระทำสูง มีความแข็งแรงทางกลสูงโดยเฉพาะด้านแรงดึง แรงอัด และแรงฉีก แต่ด้วยคุณสมบัติที่กล่าวมานี้ของวัสดุที่ใช้ในการผลิตบัสบาร์ ทำให้ยากต่อการตัด หรือ ดัด เพื่อประกอบเข้ากับโครงตู้ MDB เซอร์กิต เบรกเกอร์ (Circuit Breaker)เป็นอุปกรณ์ที่ป้องกันด้านความปลอดภัย…

Read more
knowledge

ตู้ควบคุมระบบการจ่ายไฟฟ้ามีกี่ประเภท!

ตู้ควบคุมระบบการจ่ายไฟฟ้า สามารถพบได้ทั่วไปตามที่พักอาศัย ทั้งที่พักอาศัยอย่างบ้าน อาคารพานิชย์ คอนโดมิเนียม หรือในกลุ่มธุรกิจ เช่น โรงงานอุตสาหกรรมทั้งขนาดเล็กถึงขนาดใหญ่ โรงพยาบาล โรงแรม ห้างสรรพสินค้า โรงเรียน เป็นต้น ซึ่งตู้ควบคุมระบบการจ่ายไฟฟ้าสามารถรับไฟจากการไฟฟ้า แล้วจ่ายไปยังแผงควบคุมไฟฟ้าย่อยแล้วจ่ายโหลดตามส่วนต่างๆ ซึ่งตู้ควบคุมระบบการจ่ายไฟฟ้านี้ แบ่งได้เป็น 3 ประเภท คือ Switchgear , Main Distribution Board (MDB) และ Sub distribution board (SDB). Switchgear คือตู้ควบคุมระบบการกระจายไฟฟ้าที่มีการทำงานร่วมกันของสวิตช์ตัดต่อ (disconnecting switch), ฟิวส์ (fuse) หรืออุปกรณ์ตัดวงจรไฟฟ้า (circuit breaker) เพื่อใช้ในการควบคุม ป้องกันและแยกอุปกรณ์ไฟฟ้าออกจากระบบ สวิตช์เกียร์จะถูกนำมาใช้ทั้งเพื่อตัดไฟออกจากอุปกรณ์เพื่อความสะดวกในระหว่างการทำงาน และลดความผิดพลาดที่ปลายทาง โดย Switchgear สามารถใช้ได้กับแรงดันไฟฟ้าแรงสูง และ แรงกลาง เช่น 3.3kV, 6.6kV, 12kV, 24kV, 33kV,…

Read more
[/vc_column][/vc_row][vc_row full_width=”stretch_row” css=”.vc_custom_1571709265691{margin-bottom: 20px !important;}”][vc_column width=”1/4″][/vc_column][vc_column width=”1/2″ css=”.vc_custom_1571709201309{border-top-width: 2px !important;border-right-width: 2px !important;border-left-width: 2px !important;background-color: #00a0d3 !important;border-left-color: #00a0d3 !important;border-left-style: solid !important;border-right-color: #00a0d3 !important;border-right-style: solid !important;border-top-color: #00a0d3 !important;border-top-style: solid !important;border-radius: 15px !important;}”][vc_row_inner content_placement=”middle”][vc_column_inner width=”1/2″][vc_column_text css=”.vc_custom_1571709540392{margin-bottom: 22px !important;}”]

ติดตามเพิ่มเติมผ่าน
Facebook Precise
[/vc_column_text][/vc_column_inner][vc_column_inner width=”1/2″][vc_btn title=”ติดตามเพิ่มเติม” color=”black” align=”center” i_icon_fontawesome=”fa fa-facebook-square” add_icon=”true” link=”url:https%3A%2F%2Fwww.facebook.com%2FPreciseproducts%2F|||”][/vc_column_inner][/vc_row_inner][/vc_column][vc_column width=”1/4″][/vc_column][/vc_row]