มาตรฐานการออกแบบและติดตั้งอุปกรณ์ในระบบไฟฟ้านั้น มีความสำคัญอย่างยิ่งเนื่องมาจากความปลอดภัยในชีวิตและทรัพย์สินของทุกคน ดังนั้นกิจกรรมการผลิต ติดตั้ง และซ่อมบำรุงระบบไฟฟ้า จึงมีมาตรฐานที่ถูกกำหนดและรับรองโดยหลายหน่วยงาน เช่น กรมพัฒนาและส่งเสริมพลังงาน สมาคมวิศวกรรมสถานแห่งประเทศไทยในพระบรมราชูปถัมภ์ (วสท.) การไฟฟ้านครหลวง การไฟฟ้าส่วนภูมิภาค และหน่วยงานจากต่างประเทศที่ประเทศไทยนำมาใช้เป็นหลักเกณฑ์ เช่น National Electric Code (NEC), Amarican National Standard Institute (ANSI), International Electrotechical Commission (IEC) รวมถึงหน่วยงานที่รับรองมาตรฐานผลิตภัณฑ์ อุปกรณ์ เครื่องใช้ไฟฟ้าต่างๆ ได้แก่ สำนักมาตรฐานอุตสาหกรรม กระทรวงอุตสาหกรรม ที่รู้จักกันในชื่อ สมอ. นั่นเอง ดังนั้นผู้ผลิตอุปกรณ์ไฟฟ้าทั้งหลาย จึงต้องปฎิบัติตามอย่างเคร่งครัด
Precise มีระบบการผลิตสินค้าตามมาตรฐานสากล รวมถึงทีมวิจัยและพัฒนาสินค้าอุปกรณ์ไฟฟ้า ให้มีประสิทธิภาพสูงสุด ดังนั้นอุปกรณ์ไฟฟ้าของพรีไซซ ฯ จึงสามารถต่อยอดกับอุปกรณ์ในระบบไฟฟ้าโครงข่ายอัจฉริยะ ยกตัวอย่างเช่น ชุด Load Break Switch ที่ดีที่สุดของ Precise หรือ ชุด LBS Option 7 ซึ่งตรงกับสเปกล่าสุดของการไฟฟ้าส่วนภูมิภาค เหมาะกับอุตสาหกรรมขนาดใหญ่, โซล่าร์ฟาร์ม, โรงไฟฟ้า VSPP ต่างๆ เนื่องจากทั้งระบบเป็นรองรับการสั่งงานจากศูนย์ควบคุมหรือระบบ SCADA และเป็น option ที่เป็นที่นิยมและมีราคาสูงที่สุด ซึ่งมีจุดเด่นพิเศษดังนี้
1.Load Break Switch (LBS) :
1.1 โครงถังตัวโหลดเบรกสวิตช์ผลิตจาก Stainless คุณภาพสูงเกรด 304L ซึ่งภายในตัวถังจะติดตั้งชุด Sensor low gas alarm เพื่อส่งสัญญาณแจ้งเตือนส่งไปให้ตู้ควบคุมและศูนย์สั่งการ เพื่อให้ทราบว่าตัว LBS เกิดปัญหาการรั่วซึมของแก๊ส SF6 (แต่ยังสามารถสั่งงานตัว LBS ได้จนกว่าจะแสดงสถานะ Low gas lockout ถึงจะไม่สามารถสั่งงานได้) เพื่อให้หน้างานเตรียมแผนการซ่อมบำรุง ให้สามารถใช้งานได้อย่างต่อเนื่อง
1.2 เปลี่ยนชุดหัว connector ของตัว LBS ให้เป็นตัวผู้ (Male type) เพื่อเชื่อมต่อกับ connector ที่สายคอนโทรลที่เป็นตัวเมีย (Female type) ใช้สำหรับ รับ-ส่งสัญญาณและสถานะระหว่างตัว LBS มาตู้ควบคุม (CU) เพื่อให้มีความปลอดภัยและสะดวกในการตรวจเช็คสัญญาณของอุปกรณ์ที่หน้างาน
2. Control Unit (CU) with Space for FRTU :
2.1 เพิ่มอุปกรณ์ถาดรองแบตเตอร์รี่ที่ทำจากวัสดุทนการกัดกร่อนจากน้ำกรดของแบตเตอร์รี่ กรณีที่แบตเตอร์รี่เสื่อม แตกชำรุด เพื่อป้องกันไม่ให้น้ำกรดไปกัดกร่อนสีและอุปกรณ์อื่นๆ ภายในตู้ควบคุม
2.2 Automatic battery checking (ABC) : เพิ่มฟังก์ชั่นตรวจวัดคุณภาพของแบตเตอร์รี่ที่อยู่ในตู้ควบคุมแบบอัตโนมัติ ซึ่งจะส่งสัญญาณแจ้งเตือนไปแสดงที่หลอดแสดงสถานะในตู้ควบคุมและส่งสัญญาณขึ้นศูนย์สั่งการ เพื่อแจ้งเตือนให้ทราบว่าแบตเตอร์รี่เสื่อมคุณภาพไม่สามารถใช้งานต่อได้ และทำแผนเปลี่ยนใหม่ให้สามารถใช้งานได้อย่างต่อเนื่อง
2.3 SPD : เพิ่มอุปกรณ์ Surge Protection Device (SPD) ภายในตู้เพื่อป้องกันแรงดันเกินหรือแรงดันฟ้าผ่าที่จะเข้ามาทำให้อุปกรณ์ภายในตู้ชำรุดเสียหาย
2.4 Aux. Cable supply 230V : เพิ่มชุดอุปกรณ์ Auxiliary cable for low voltage power supply 230 V เพื่อใช้เป็นสายต่อแรงดัน power supply ให้ตู้ควบคุมในกรณีที่อุปกรณ์ Voltage Transformer มีปัญหาหรือชำรุด เพื่อให้ตู้ควบคุมสามารถใช้งานได้อย่างต่อเนื่อง
2.5 Hygrostat : เปลี่ยนอุปกรณ์ตรวจวัดความชื้นภายในตู้โดยใช้ Hygrostat เป็นตัวตรวจวัดความชื้นแทนตัว Thermostat เพื่อตรวจวัดและควบคุมค่าความชื้นในตู้ได้แม่นยำยิ่งขึ้น
3. Voltage Transformer 3 Phase 4 Core :
3.1 เปลี่ยนการออกแบบ Voltage transformer ใหม่ จากเดิมที่เป็นแบบ 3 Phase 3 Core เปลี่ยนเป็นชนิด 3 Phase 4 Core เนื่องจากรุ่นเดิมใช้แกนเหล็กและขดลวดที่เป็นชุด power supply ให้ตู้ควบคุมร่วมกันกับแกนเหล็กและขดลวดที่ใช้ตรวจวัด (Metering) แรงดันส่งขึ้นศูนย์สั่งการ ทำให้เกิดปัญหาขณะที่อุปกรณ์ภายในตู้ทำงานพร้อมกันจะทำให้แรงดันที่แสดงที่ศูนย์สั่งการผิดเพี้ยนไปจากปกติ ดังนั้นรุ่นใหม่จึงพัฒนาปรับปรุงแยกแกนเหล็กและขดลวดของชุด power supply ออกจากชุดตรวจวัด (Metering) เพื่อรักษาค่าความแม่นยำในการตรวจวัดแรงดันที่ศูนย์สั่งการ
3.2 เปลี่ยนชุดหัว connector ที่ตัว VT ให้เป็นตัวผู้ (Male type) เพื่อเชื่อมต่อกับ connector ที่สายคอนโทรลที่เป็นตัวเมีย (Female type) ใช้สำหรับ รับ-ส่งสัญญาณระหว่างตัว VT มาตู้ควบคุม (CU) เพื่อให้มีความปลอดภัยและสะดวกในการตรวจเช็คสัญญาณของอุปกรณ์ที่หน้างาน
ติดต่อสั่งซื้อสินค้าได้ตลอด 24 ชั่วโมง
https://online.preciseproducts.in.th
LINE: https://lin.ee/1T37XR1
หรือโทร. 065-5285860 02-584-2367 ต่อ 621